เหตุใดจึงนิยมเอาหลานมาให้พ่อแม่เลี้ยง

ครัวเรือนข้ามรุ่น คืออะไร ?

คือ ครัวเรือน ประกอบด้วยคน 2 รุ่น ได้แก่ คนรุ่น ปู่-ย่า , ตา-ยาย กับคนรุ่นหลาน โดยไม่มีคนรุ่นพ่อ – แม่อาศัยอยู่ด้วย จึงทำให้เกิดการแหว่งไป

คนรุ่นพ่อ-แม่หายไปไหน?

สำหรับคำตอบของปัญหาข้อนี้มาจากหลายเหตุผล บางครอบครัวคนรุ่นพ่อ – แม่ ต้องออกจากบ้านไปทำงานที่อื่น บางครอบครัวพ่อ-แม่เสียชีวิต , บางครอบครัวพ่อแม่เลิกกัน จึงลูกที่เป็นหลานมาให้ปู่-ย่าหรือตา-ยายเลี้ยง แต่การออกจากบ้านไปทำงานต่างจังหวัด เป็นเหตุผลหลักมากกว่าสาเหตุอื่น

จากสถิติในปี ค.ศ. 2014 ประเทศไทยมีสภาพครอบครัวประเภทนี้ ถึง 15% แปลว่า ใน 100 ครอบครัว จะมี 15 ครอบครัวที่เป็นครอบครัวข้ามรุ่น ซึ่งมีเพียงปู่-ย่า , ตา-ยาย อยู่ตามลำพังกับหลาน ในอัตราส่วนค่อนข้างสูง โดยสาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างจังหวัดของพ่อ-แม่ จากการศึกษาที่ผ่านมา มักมีการมุ่งเน้นศึกษาเรื่องพ่อ-แม่ย้ายถิ่น ฐานโดยเฉพาะ ในขณะที่สมาชิกครอบครัวอื่นๆอยู่กันตามลำพัง ไม่ค่อยได้รับความสนใจในการเข้าไปศึกษาสภาพความเป็นอยู่ หรือสภาพจิตใจจากนักวิชาการมากเท่าไหร่นัก

ก่อกำเนิดโครงการวิจัย “ครอบครัวข้ามรุ่นในประเทศไทย”

โครงการวิจัยนี้ ถือกำเนิดมาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพสมาชิกครัวเรือน ที่อยู่ข้างหลังซึ่งได้แก่ ปู่ย่า , ตายาย และหลาน โดยมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรุ่นต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่น ปู่-ย่า , ตา-ยาย กับคนรุ่นพ่อ-แม่ ที่ย้ายถิ่นฐานไปยังที่ห่างไหล กับความสัมพันธ์ระหว่างปู่ – ย่า ตา- ยาย กับหลานที่อยู่ในบ้านเดียวกัน เพื่อตรวจสอบว่านี่เป็นความสัมพันธ์ แน่นแฟ้น , กลมเกลียว , รักใคร่ หรือมีความขัดแย้งกัน และมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อความสัมพันธ์นั้น เพราะความสัมพันธ์ในครอบครัวมีผลกระทบอย่างมาก ต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกผู้อยู่อาศัย โดยการศึกษานี้เกิดจากความร่วมแรง ร่วมใจ ระหว่างนักวิชาการจาก University of Michigan กับนักวิชาการของ มหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งระดมข้อมูลมาจากการสัมภาษณ์คนรุ่นปู่ – ย่า, ตา-ยาย ในครัวเรือนข้ามรุ่น ภายในภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคกลาง เป็นจำนวน 48 คน

เสียงจากปู่ – ย่า ตา – ยาย สะท้อนให้เห็นว่า การได้เลี้ยงหลาน , ดูแลหลาน ประกอบด้วยความสุขและความทุกข์ โดยมีความสุขที่มีหลานอยู่ด้วย ทำให้ไม่เหงา หากแต่ก็มีความทุกข์ห่วงหลานว่าจะไม่มีอะไรกิน ทุกข์เวลาหลานป่วย หรือตัวเองป่วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อความรู้สึกอันแน่นแฟ้น และความขัดแย้ง ระหว่างคนที่อยู่บ้านเดียวกันได้