บทบาทสำคัญของพ่อแม่มีส่วนสำคัญที่หล่อหลอมอบรมเลี้ยงดูให้เด็กมีศักยภาพในการใช้ชีวิตในสังคม
พ่อแม่ทุกคนล้วนเป็นต้นแบบของลูกๆ เป็นคนที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตและการเลือกเส้นทางเดินต่อไปในอนาคตของลูก จึงควรสนับสนุนให้ทุกครอบครัวมีพื้นฐานของครอบครัวที่ดีเพื่อเป็นพื้นฐานให้กับลูกๆ เพราะพ่อแม่มีส่วนในการสร้างอนาคตที่ดีให้กับลูกๆ

1. ด้านการศึกษา จากการสำรวจทัศนคติและบุคลิกลักษณะของ พ่อแม่ยุคใหม่ จึงมีผลต่อการเรียนการศึกษาของเด็กๆ อีกทั้งจากการใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้าน พบว่าจากความเชื่อ ความคาดหวัง ของแต่ละครอบครัวนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมในการกำหนดการเรียนรู้ของลูกๆ การมีส่วนร่วมในการช่วยให้เด็กๆได้เรียนรู้ตลอดจนการห่วงใยต่ออนาคตของลูก โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่นำเข้ามาใช้ร่วมกับการศึกษาด้วยแล้ว พ่อแม่หลายคนมักกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียนระบบดิจิทัลเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีไร้ขีดจำกัดที่จะส่งผลต่อพัฒนาการด้านทักษะ การเข้าสังคม จะทำลูกๆ ไม่มีทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมเพราะต้องเรียนรู้จากตัวเอง พ่อแม่จึงสนใจการเรียนแบบเดิมมากกว่า และการเรียนผ่านเทคโนโลยีอาจทำให้เด็กๆ ขาดสมาธิได้ง่ายกว่าการเรียนจากหนังสือ ซึ่งในส่วนนี้หากพ่อแม่ที่สามารถสนับสนุนอุปกรณ์ดิจิทัลให้ลูกๆได้ก็จะไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้

2. ด้านความปลอดภัย ครอบครัวที่มีพ่อแม่ที่รักใคร่ ไว้เนื้อเชื่อใจ พึ่งพากันได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ลูกได้รู้สึกถึงความปลอดภัย รู้ว่าที่บ้านที่มีพ่อและแม่อยู่นั้น เป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเขา หากวันที่เขามีเรื่องราวเข้ามาในชีวิต เขาจะคิดถึง พ่อกับแม่เป็นคนแรก พ่อแม่จึงต้องปลูกฝังให้ลูกได้รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ รอบตัว

3. เสริมสร้างจิตใจที่เข้มแข็ง เมื่อพ่อแม่มีเวลาได้อยูใกล้ชิดลูกๆ ได้รู้จักนิสัยใจคอ ได้เห็นทัศนะคติทางความคิดของลูก จะทำให้พ่อแม่สามารถรู้ปัญหาก่อน อีกทั้งความใกล้ชิดที่ลูกจะให้กลับมานั้นพ่อแม่ต้องทำตั้งแต่เมื่อลูกเป็นเด็ก เด็กจะซึมซับความเป็นผู้นำของพ่อ ความอ่อนโยนจากแม่ เมื่อลูกมีปัญหาก็จะทำให้เขามีจิตใจที่เข้มแข็งเพราะมีพ่อกับแม่เป็นต้นแบบที่ดีทำให้ลูกมีจิตใจทีมั่นคงไม่อ่อนแอกับเรื่องอะไรง่ายๆ

4. พื้นฐานนิสัยอ่อนโยน มีเมตตา เมื่อพ่อแม่ให้ความรักความเมตตาต่อลูกก่อน แสดงความเห็นอกเห็นใจให้ลูกได้เห็น จะทำให้ลูกได้รับการซึมซับไปในตัว จะส่งผลให้เด็กมีพื้นฐานจิตใจที่อ่อนโยน ไม่ทำร้ายผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้สึกสงสารผู้อื่น เมื่อเด็กมีพื้นฐานจิตใจที่ดี จะทำให้เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้โดยที่ไม่เดือดร้อนผู้อื่น การปลูกฝังพื้นฐานนิสัยต้องฝึกตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพื่อให้เด็กซึมซับ และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

5. ดูแลควบคุมการใช้สื่อด้านออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หนังสือ โซเชียลมีเดียต่างๆ พ่อแม่ควรเว้นระยะห่างคอยสังเกตุอยู่เสมอ เพื่อคอยคุมไม่ให้ได้รับสื่อที่ไม่เหมาะสม หากลูกต้องการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการส่วนตัว พ่อแม่ควรได้รับรู้ว่าลูกรับชมในระดับใด และเหมาะสมกับช่วงวัยของลูกหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกัน พ่อแม่ก็ไม่ควรที่จะห้ามลูกเพราะหากเด็กอยากที่จะเรียนรู้จะทำให้เด็กขาดอิสระทางความคิดได้

อย่างไรก็ดีพ่อแม่ล้วนเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางครอบครัวต่อลูกมากที่สุด การหล่อหลอมเด็กให้เป็นคนที่ดีทั้งจากภายใน และภายนอก เบื้องต้นควรเริ่มจากครอบครัวก่อน เมื่อเด็กมีพื้นฐานครอบครัวที่แข็งแรง เด็กก็จะออกสู่สังคมด้วยความแข็งแรง และเข้มแข็งพอที่จะเจอปัญหาภายนอกครอบครัวได้ ยิ่งไปกว่านั้น ครอบครัวต้องเป็นที่ซัพพอทให้กับเด็กในยามที่เขาต้องเผชิญปัญหาตามลำพังอีกด้วย ดังนั้นครอบครัวจึงต้องเอาใจใส่ซึ่งกันและกันเพื่อปลูกจิตสำนึกที่ดีให้เด็กต่อไป