ปัญหาครอบครัวเกิดจากอะไร มีทางแก้หรือไม่

ทุกครอบครัวอาจเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ หรือแม้แต่ความรุนแรงในครอบครัวได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะเป็นคนที่จิตใจดี คิดบวกมากแค่ไหน เด็กก็ยังคงโต้เถียงและมีประพฤติกรรมที่ก้าวร้าวได้เช่นกัน ความต้องการในชีวิตประจำวันของเรา และของพวกเขา สิ่งเหล่านี้มักจะสร้างความขัดแย้ง หรือความเข้าใจผิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บ่อยครั้งที่มีปัญหาที่เกิดซ้ำๆ เช่นปัญหาในการเตรียมพร้อมไปเรียนในตอนเช้าหรือจะนอนตอนกลางคืน จนถึงการทะเลาะกันหระว่างพี่น้อง ทำให้เกิดความเครียด เหนื่อยล้า สับสน รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีกำลังใจ

ทั้งหมดนี้อาจเป็นแค่จุดเริ่มตนของปัญหาร้ายแรงที่จะตามมา หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี แล้วครอบครัวทั้งหลายที่ประสบปัญหาเช่นนี้ เขาใช้วิธีใดมาช่วยแก้ปัญหาครอบครัวเหล่านี้กัน โชคดีที่นักจิตวิทยาครอบครัวได้ทำการสำรวจมาหลายปี ทำให้เรามีแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ด้านล่างนี้เป็นขั้นตอนที่จะช่วยให้ครอบครัวที่กำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบาก กลับมาสู่สถานการณ์ปกติได้อีกครั้ง เพียงแต่มันต้องใช้เวลาและความอดทนสูงมาก

วิธีการแก้ปัญหาในครอบครัว

1.ขั้นตอนแรกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของเด็กคือ การถอยกลับไปก้าวหนึ่ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนตัวให้กับพวกเขาได้ผ่อนคลาย ปัญหาของชีวิตครอบครัวอาจไม่ได้รบการแก้ไขในเชิงรุกได้ดีที่สุดเสมอไป เมื่อเราตอบสนองต่อพฤติกรรมของเด็กเรามักจะตอบสนองไม่ดี เช่น การใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หรืออาจถึงพลาดพลั้งตบตีลูกได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนไม่อยากจะทำแน่นอน

2.เมื่อรู้ถึงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีก พยายามทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหา ร้อยทั้งร้อยพ่อแม่ที่ใช้คำพูดดุด่า หรือบังคับเด็กให้ทำอะไรก็ตาม สุดท้ายก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ลองเปลี่ยนมาใช้คำพูดที่มีเหตุผลมากขึ้น เช่น อธิบายว่าทำไมตัวคุณถึงต้องโมโหจนเสียงดังใส่ทุกครั้ง เวลาที่เขาตื่นสายประจำ เด็กจะเรียนรู้ถึงปัญหาและพยายามปรับตัวให้ดีขึ้น

3.พัฒนาแผน จากประสบการณ์ของพ่อแม่ทุกคนที่เคยผ่านเรื่องเหล่านี้มาก่อน เกือบทุกคนตอบสนองเชิงบวกเมื่อบอกครอบครัวว่า ‘ฉันมีแผน’ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นชีวิตครอบครัว พวกเขาอาจจะสงสัย แต่พวกเขาฟังด้วยความสนใจ ลึกลงไปพวกเขาต้องการแผนมากพอๆกับเรา

4.อย่าลืมให้ความชื่นชม-ยกย่องในความพยายามของลูก ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่คุณได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาครอบครัวอย่างยั่งยืน เราควรหมั่นเช็คกับเด็กเป็นประจำเช่นการถามว่า “คิดว่าการแก้ปัญหาตอนเช้าของเราเป็นยังไงบ้าง”